ลองคิดตามว่าในหนึ่งวันตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน เราต้องรับฟังเสียงต่าง ๆ เรื่องต่าง ๆ มากมายแค่ไหน การฟังจึงถือเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตเพราะเราต้องใช้ในการสื่อสารทุกวัน และเราต้อง ‘ฟัง’ เพื่อเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่าง ๆ ในชีวิต เช่น ฟังเพื่อคิด ฟังเพื่อเขียน ฟังเพื่อนำไปสู่การค้นคว้าหาข้อมูล ฟังเพื่อเสริมสร้างจินตนาการ ฟังเพื่อคิดวิเคราะห์ ฯลฯ
• เวลาคุยกับคนอื่นแล้วเป็นเรื่องที่เรารู้อยู่แล้ว หรือเคยได้ยินมาก่อน ก็จะรีบพูดตัดบทใส่คนพูดทันที
• ชอบพูดขัดจังหวะคนอื่น โดยไม่สนว่าคนพูดจะพูดจบหรือยัง
• เวลาได้ฟังเรื่องที่เราไม่ชอบจะพูดแทรกทันที โดยมักจะพูดว่า “หยุดพูดได้แล้ว” “เปลี่ยนเรื่องคุยเถอะ”
• ไม่รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น หรือไม่เปิดรับฟังความคิดที่คิดเห็นไม่ตรงกับเรา
• เวลามีคนเล่าเรื่องอะไร จะชอบพูดแทรกแล้วเล่าเรื่องของตัวเองแทน เช่น ตัวเองเคยทำมาก่อน ตัวเองรู้มากกว่า
• ชอบฟังแต่สิ่งที่ตัวเองพูด และชอบคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองพูดตลอด ไม่เคยตั้งใจฟังเวลาคนอื่นพูดเลย
*ถ้าติ๊กถูกแค่ข้อเดียวก็คือเราควรปรับปรุงทักษะการฟังแล้วละ
• สูญเสียความสัมพันธ์ที่ดี เวลาที่เราไม่ตั้งใจฟังก็อาจทำให้เราได้รับข้อมูลหรือเกิดความเข้าใจผิดจากสิ่งที่ฟังได้ ซึ่งมันอาจนำไปสู่การทะเลาะกันได้ เช่น เพื่อนกำลังคุยเรื่องหนังกันอยู่ แต่เราไม่ฟังอะไรเลยว่าเพื่อนอีกคนยังไม่ได้ดู และเราตั้งใจสปอยล์ฉากหักมุมที่สำคัญ ทำให้เพื่อนอีกคนที่ยังไม่ได้ดูไม่พอใจมาก ๆ เป็นต้น
• สูญเสียความก้าวหน้า ในอนาคตเมื่อเราเข้าสู่วัยทำงาน แน่นอนว่าเราจะต้องได้รับมอบหมายงาน แต่ถ้าเราไม่ตั้งใจฟังให้ดีจนเกิดความเข้าใจผิดในสิ่งที่ได้รับฟังมา ก็อาจทำให้เราสูญเสียความก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้เลย
• สูญเสียความน่าเชื่อถือ ถ้าเราฟังข้อมูลบางอย่างแบบไม่ตั้งใจฟังจนเราเข้าใจผิดพลาดไปอง แล้วนำข้อมูลนั้นไปแชร์ต่อคนอื่น แน่นอนว่าเราจะดูเป็นคนไม่น่าเชื่อถือ และอาจทำให้ดูไม่น่าไว้วางใจอีกด้วย
การฟังที่ดีคือเราจะรับฟังอย่างตั้งใจ ฟังแบบไม่ตัดสินใจ ฟังแบบไม่มีอคติ โดยเราจะให้ผู้พูดได้พูดในสิ่งที่เขาต้องการพูดอย่างเต็มที่ และเราต้องไม่พูดแทรกหรือขัดจังหวะผู้พูด การที่เรามีสกิลการฟังที่ดีนั้นจะช่วยสร้างมิตรภาพกับผู้อื่นได้ เพราะเรารู้จักรับฟังความคิดของเขา นอกจากมิตรภาพแล้ว เรายังจะได้มุมมองหรือความคิดใหม่ ๆ จากการฟังคนอื่นด้วย
• มีสมาธิ ไม่วอกแวกเวลาฟัง การมีสมาธิจะช่วยให้ใจสงบและรู้ตัวว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ การฟังที่ดีต้องใช้สมาธิ เพราะเราจะสามารถติดตามการพูดของผู้พูดได้อย่างต่อเนื่อง และยังสามารถจับประเด็นสำคัญได้ด้วย
• เปิดใจให้กว้าง รับฟังอย่างมีเหตุผล การที่เรายึดติดกับความคิดของตัวเองจะทำให้เราไม่อยากฟังความคิดของคนอื่น และยังอาจนำไปสู่การใช้อารมณ์มาตัดสินแทนเหตุผลด้วย เราควรเปิดใจให้กว้างเพื่อรับฟังอย่าไม่มีอคติ และเวลาฟังก็ควรมีสติด้วย เพื่อจะได้คิดตามอย่างมีเหตุมีผล
• โต้ตอบกับผู้พูดตามความเหมาะสม การที่เรานิ่งเงียบหรือฟังอย่างเดียวโดยไม่มีการตอบสนองเลย อาจทำให้ผู้พูดรู้สึกหมดความมั่นใจได้ เราควรมีการตอบสนองผู้พูดบ้าง เพื่อให้เขาได้รู้ว่าเราฟังอยู่นะ เช่น สบตาเวลาคุยกัน แสดงความเห็นเมื่อเขาพูดเสร็จ ซักถามประเด็นที่คาใจเพื่อขอความเห็นจากผู้พูด เป็นต้น
‘ทักษะการฟัง’ ถือเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตและการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ การมีสกิลการฟังที่ดีนั้นมีข้อดีมากมาย ตั้งแต่ช่วยสร้างมิตรภาพ ช่วยในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ช่วยต่อยอดจินตนาการ และช่วยให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้นได้ เพราะฉะนั้นหมั่นฝึกฝนสกิลการฟังให้ดีขึ้นกันด้วยน๊า
แหล่งข้อมูล
- ลุงไอน์สไตน์. (2562). อัจฉริยะฉลาดฟัง. กรุงเทพฯ: บิสคิต
- แพทย์หญิงกุสุมาวดี คำเกลี้ยง. (2563). จะซึม จะเศร้า ก้าวผ่านได้. กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์